สรุปแนวความคิดเกี่ยวกับ “หมู่บ้านการศึกษา” โดย พระสันตะปาปาฟรังซิส
เพื่อไตร่ตรอง เสนอข้อปฏิบัติที่กระทำได้จริงตามลำดับความสำคัญ
การรวมตัวของพันธมิตรแห่งการศึกษา ยังไม่เคยกระทำมาก่อน
- เพื่ออบรมบุคคลให้บรรลุวุฒิภาวะ และสามารถเอาชนะการแตกแยก ความโกรธเคือง
- เพื่อจะฟื้นฟูสัมพันธภาพให้เกิดความเป็นพี่น้องกันในมนุษยชาติ
ภาษิตแอฟริกัน ที่พระสันตะปาปาทรงนำมาอ้างคือ
“ในการอบรมเด็กให้มีความรู้ คนทั้งหมู่บ้านต้องร่วมมือกัน”
“เพื่อเปิดเครือข่ายแห่งความสัมพันธ์ของมนุษยชาติ ทุกคนควรมีส่วนตามบทบาทของแต่ละคน”
F พระองค์ทรงเรียกว่า
- พันธมิตรที่เคารพกันในทุกแง่มุมของบุคคล
- บูรณาการการเรียนรู้ ทั้งวิทยาศาสตร์ ศิลปะ กายภาพ การเมือง ธุรกิจ และเมตตาธรรมในชีวิตประจำวัน ของครู นักเรียน ครอบครัว และสังคม
เพื่อให้โครงการ “หมู่บ้านการศึกษา” นี้สำเร็จ พระองค์ทรงเสนอแผนหลายประการ
- ต้องให้ความเป็นพี่น้องกันเกิดขึ้น และกำจัดการแบ่งแยกออกไป
- ต้องมีความกล้าที่สำคัญ ได้แก่
1) “มีความกล้าที่เน้นมนุษยชาติเป็นศูนย์กลาง” หมายความว่าควรตระหนักถึงการเชื่อมโยงของโลกเรา และคิดใหม่ในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง การพัฒนาและความก้าวหน้า ให้ความสำคัญแก่ระบบนิเวศวิทยา ที่ปฏิเสธวัฒนธรรมแห่งการทิ้งขว้าง
2) “มีความกล้าที่จะใช้ประโยชน์จากพลังงานให้คุ้มที่สุด และแทรกในการเรียนการสอน เพื่อสร้างมนุษยชาติใหม่
เป็นสาเหตุให้ชายและหญิงต้องเปิดกว้าง มีความรับผิดชอบ และพร้อมที่จะรับฟัง สนทนาและไตร่ตรองกับผู้อื่น มีความสามารถที่จะสร้างสัมพันธภาพกับครอบครัว ทุกรุ่น และทุกสังคม
3) “มีความกล้าที่จะอบรมแต่ละคนที่ยินยอมที่จะอุทิศตนในการบริการรับใช้ชุมชน” การรับใช้ เป็นหลักของวัฒนธรรมแห่งการร่วมมือกัน” ยื่นมือเข้าช่วยเหลือผู้ที่ต้องการมากที่สุด และพบว่า “การให้สร้างความปีติมากกว่าการรับ” ทรงเชื้อเชิญทุกคนให้อุทิศตนเองเพื่อพัฒนากลุ่ม
ทรงสรุปว่า “ให้เราเริ่มมองไปข้างหน้าเพื่อเปิดทางให้แก่ประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่าเดิม”