พร้อมกับพระเยซูไม่มีคำว่าสายเกินไป กับพระองค์สิ่งต่างๆไม่มีคำว่าสูญสิ้น
(With Jesus, it is never too late. With Him, things are never over)
เนื่องจากพระเจ้ารอคอยให้อภัยเราด้วยพระเมตตาของพระองค์
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเป็นประธานในพิธีมหาบูชามิสซาและแห่ใบลาน ในวันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2022 ซึ่งเป็นการจัดพิธีกรรมกลางแจ้งครั้งแรกที่มีผู้ร่วมพิธีกรรมเป็นจำนวนมากหลังจากการแพร่ระบาดได้เกิดขึ้น ณ จัตุรัสนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน
พระบิดาเจ้าข้าโปรดยกโทษให้กับพวกเขาด้วย (‘Father, forgive them’)
ณ บนภูเขากัลวาริโอ มีแนวความคิด 2 ประการ จากคำพูด 2 ประโยค คือ
1) คำพูดที่พระเยซูเจ้าตรัสบนไม้กางเขนระหว่างโจรทั้งสองคนว่า “พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด” (ลก 23:34)
2) คำพูดของผู้ร้ายคนหนึ่งที่ถูกตรึงบนไม้กางเขนพูดดูหมิ่นพระองค์ว่า “จงช่วยตนเองและช่วยเราให้รอดพ้นด้วยซิ” (ลก 23:39)
จากคำพูดสองประโยคนี้ ทำให้เราได้เห็นวิธีการคิดของพระเยซูเจ้าที่ไม่ได้แสดงความเห็นแก่ตัว แม้ว่าพระวรกายของพระองค์จะทรงเจ็บปวดและทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสเพราะบาดแผลก็ตาม พระองค์ไม่ทรงคิดถึงแต่ตนเอง ในการระบายความโกรธหรือความทุกข์ของตนเองออกมา แต่กลับอธิษฐานภาวนาทูลขอต่อพระบิดาสำหรับพระเมตตาที่มีต่อโจรที่กลับใจ ซึ่งพระเป็นเจ้าก็ได้ทรงกระทำเช่นนี้กับพวกเราทุกคนด้วยเช่นเดียวกัน
“เมื่อเราได้รับความทุกข์ทรมานจากการกระทำผิดของเรา พระองค์ก็ทรงทนทุกข์เช่นเดียวกัน แต่สิ่งหนึ่งที่พระองค์ทรงปรารถนาก็คือ การอภัยบาปให้กับเรา เมื่อเราได้มองพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน เราสัมผัสได้ถึงสายตาที่อ่อนโยนของพระองค์ ความเห็นอกเห็นใจ และการโอบกอดด้วยความรัก เราจึงอยากจะขอบคุณพระองค์สำหรับความรักและการให้อภัยที่พระองค์ทรงประทานให้กับเรา แม้ในช่วงเวลาที่เรายากที่จะรักและให้อภัยตัวเอง”
พระเยซูเจ้าขอให้ยุติวงจรอุบาทว์ (Jesus asks to break vicious cycle)
ให้เราได้คิดถึงบางคนในชีวิตของเรา ที่ทำให้เราบาดเจ็บ โกรธเคือง ผิดหวัง คนที่ไม่เข้าใจเรา หรือคนที่ทำไม่ดีกับเรา เราได้ปฏิบัติกับพวกเขาเหมือนดังที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำ (ให้อภัย) บนไม้กางเขนหรือไม่ พระเยซูเจ้าทรงสอนเราให้ยุติวงจรอุบาทว์ การแก้แค้น และความทุกข์ทรมาน
พระเป็นเจ้ามองเราทุกคนโดยไม่แบ่งแยกว่าเราเป็นลูกชายหรือลูกสาว เป็นคนดีหรือคนไม่ดี เป็นเพื่อนหรือว่าเป็นศัตรู แต่เป็นเราเองที่กระทำเช่นนั้น และทำให้พระเจ้าต้องทนทุกข์ สำหรับพระองค์แล้ว พวกเราคือลูกที่รักของพระองค์ ลูก ๆ ที่พระองค์ปรารถนาที่จะสวมกอดและให้อภัย
พระเยซูเจ้าไม่ทรงเหน็ดเหนื่อยที่จะให้อภัย (Never tires of forgiving)
ในพระวรสารเราจะสัมผัสได้ว่า พระเยซูเจ้าไม่ได้ตรัสให้อภัยผู้ที่ตรึงกางเขนพระองค์แค่เพียงครั้งเดียว แต่ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงอยู่บนไม้กางเขน ด้วยพระวาจาของพระองค์และจากพระหฤทัยของพระองค์ พระเจ้าไม่ทรงเบื่อหน่ายที่จะให้อภัยเรา ขอให้เราอย่าได้หยุดที่จะประกาศการให้อภัยของพระเจ้าที่พวกเราได้รับและเป็นประจักษ์พยาน ไม่ว่าจะเป็นบาทหลวง ศาสนบริกร และคริสตชนทุกคน
ในความเขลาของสงครามพระเยซูเจ้าถูกตรึงกางเขนอีกครั้งหนึ่ง (In folly of war, Christ crucified again)
บรรดาผู้ที่ตรึงกางเขนพระเยซูเจ้า ผู้ที่วางแผนล่วงหน้า ผู้ที่จับกุมพระองค์ ผู้ที่สอบสวน และผู้ที่ยืนอยู่บริเวณเขากัลวาริโอ ได้เป็นประจักษ์พยานถึงความตายของพระองค์ แต่พระเยซูเจ้าทรงทำให้พวกเขากลายเป็นคนบริสุทธิ์โดยการตรัสว่า “เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร” (ลก 23:34) พระเยซูเจ้ากลับกลายเป็นทนายแก้ต่างให้กับพวกเขา แทนที่จะชี้ไปยังพวกเขาและกล่าวโทษ เช่นเดียวกัน พระเยซูเจ้าไม่ได้ชี้มาที่บาปของเราที่ได้กระทำ แต่กลับปกป้องเราและชำระล้างบาปของเราให้สะอาด
เมื่อเราหันไปใช้ความรุนแรง เราแสดงให้เห็นว่า เราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับพระเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบิดาของเรา หรือแม้แต่เกี่ยวกับคนอื่น ๆ ที่เป็นพี่น้องของเรา เราลืมไปว่าเรามาอยู่ในโลกนี้ทำไม และลงเอยด้วยการกระทำที่ทารุณโหดร้าย เราสามารถเห็นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ในการทำสงคราม ณ ที่นั่นเอง พระเยซูเจ้าได้ทรงถูกตรึงกางเขนอีกครั้งและอีกหน
วันนี้ท่านจะอยู่กับเราในสวรรค์ (ลก 23:43) (‘You will be with me in Paradise’)
- พระเยซูเจ้าทรงถูกตอกตะปูอีกครั้งบนไม้กางเขน ในหัวใจของบรรดามารดาผู้ซึ่งโศกเศร้าถึงการตายอย่างอยุติธรรมของบรรดาสามีและลูก ๆ ของพวกเธอ (ในสงคราม)
- พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขนในผู้ลี้ภัยซึ่งหนีตายจากระเบิดพร้อมกับการโอบกอดลูก ๆ ของพวกเขาในอ้อมแขน
- พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขนในบรรดาผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งอย่างโดดเดี่ยวอย่างสิ้นหวัง ในคนหนุ่มสาวที่ถูกพลัดพรากจากอนาคตของพวกเขา ในทหารที่ถูกส่งออกไปเพื่อฆ่าบรรดาพี่น้องชายหญิงของเขาเอง
ณ บนภูเขากัลวารีโอ มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ตอบรับคำเชื้อเชิญของพระเยซูเจ้าให้ละทิ้งอดีตและเริ่มต้นใหม่ ในขณะที่พระเยซูอยู่บนไม้กางเขน นั่นคือ ” #โจร” ซึ่งถูกตรึงกางเขนถัดจากพระเยซูเจ้าไป และได้กล่าวว่า “ข้าแต่พระเยซู โปรดระลึกถึงข้าพเจ้า” (ลก 23:43)
โจรที่กลับใจได้ยอมรับพระเจ้าในวาระสุดท้ายในชีวิตของเรา เช่นนี้เอง เขาได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ คือ ชีวิตนิรันดรที่พระเจ้าได้ประทานให้กับเขา ในนรกของโลกนี้ เขา (โจรผู้นั้น) ได้เห็นสวรรค์เปิดออกเมื่อพระเยซูเจ้าได้ตรัสกับเขาว่า “วันนี้ท่านจะอยู่กับเราในสวรรค์” (ลก 23:43) นี่คือความอัศจรรย์ของการให้อภัยของพระเจ้า เมื่อทรงสดับฟังคำขอร้องสุดท้ายของโจรผู้นั้น ผู้ที่ได้ถูกตัดสินลงโทษด้วยการถูกประหารชีวิตบนไม้กางเขนของโลกนี้ แต่กลับได้เป็นนักบุญองค์แรกที่พระเยซูเจ้าทรงประกาศแต่งตั้งด้วยพระองค์เอง
พร้อมกับพระเจ้าไม่มีสิ่งใดที่สายเกินไป (With God, it is never too late)
ระหว่างสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ ให้เราได้เชื่อมั่นว่าพระเจ้าจะทรงอภัยบาปให้กับเราได้ทุกอย่าง สร้างสะพานเชื่อมในทุก ๆ หนทาง และเปลี่ยนจากสถานการณ์แห่งความโศกเศร้าให้เป็นงานเลี้ยงเต้นรำ พร้อมกับพระเยซูเจ้า ให้เราเชื่อมั่นว่าจะมีที่สำหรับทุก ๆ คน ในพระองค์ไม่มีสิ่งใดที่จะสูญสิ้นและสายเกินไป (สำหรับการสำนึกผิด กลับใจ และสารภาพบาป)
พร้อมกับพระเจ้า เราสามารถกลับมาชีวิตใหม่ได้เสมอ ให้เราได้เดินทางเข้าสู่ปัสกาด้วยการให้อภัยของพระองค์ โดยพระเยซูเจ้าจะเป็นคนกลางเพื่อวอนขอการอภัยจากพระองค์
เมื่อมองดูโลกที่โหดร้ายและถูกทรมานของเรา (จากสงคราม) พระเยซูเจ้าไม่ทรงเบื่อหน่ายที่จะพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า “พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร” (ลก 23:34)
#ก้าวไปกับโป๊ป 12
#chanthaburidiocese
ขอขอบคุณข้อมูลจาก FACEBOOK
Nuphan Thasmalee - คุณพ่อนุพันธ์ุ ทัศมาลี พระสงฆ์สังฆมณฑลจันทบุรี