โครงการวิจัย ผลการทดลองใช้กรอบสมรรถนะผู้เรียน
ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเทศในสหภาพยุโรป ไม่ค่อยใช้คำว่า Competency Mastery และ Proficiency ใน การกล่าวอ้างถึงการจัดการศึกษาเชิงสมรรถนะ แต่มักใช้คำว่า ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ Learning outcomes เป็นแนวคิดที่สำคัญจากการศึกษามีคำสำคัญที่เกี่ยวกับสมรรถนะ ดังนี้ Learner-Centered และ Student-Centered สองคำนี้เป็นที่เข้าใจแพร่หลายอยู่ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของการจัดการศึกษาเชิง สมรรถนะ นักการศึกษาได้มีคำกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงถึงระดับพื้นฐาน เป็นการปฏิวัติทางการศึกษาเลยทีเดียวดังนี้
“ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะไม่ใช่โลกฉันใด เด็ก ๆ ก็เป็นศูนย์กลางของ การเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งฉันนั้น เมื่อใดก็ตามที่จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนที่ แตกต่างกัน เมื่อนั้นผลกระทบที่เราต้องคำนึงถึงก็คือ บทบาทของครู หลักสูตร จะเป็นอย่างไร โครงสร้างเวลาที่ 28 ใช้ในการจัดการศึกษา และสถานที่ในการจัดการศึกษาจะมีการออกแบบให้สอดคล้องกันอย่างไร มันคือการปฏิวัติ”
Formative Assessment ต่างจาก Summative Assessment ในการจัดการศึกษาเชิง สมรรถนะ ครูต้องการข้อมูลผลการเรียนเพื่อนำมาปรับปรุงการสอนของตน และเพื่อสะท้อนกลับให้เด็กได้รู้ว่า เขาควรปรับปรุงการเรียนรู้ของเขาตรงไหนอย่างไร จึงต้องใช้การประเมินแบบ Formative Assessment การประเมินแบบ Summative Assessment โดยการสอบ Examination ใช้เพื่อการตัดสินผลการจบการศึกษา และการศึกษาต่อ
Personalization เป็นแนวคิดที่นักการศึกษาใช้เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาสู่การศึกษาเชิงสมรรถนะ เพราะหลักอันเป็นที่เข้าใจกันก็คือ เด็กต้องได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม กับความต้องการของแต่ละคน
รายงานวิจัยผลการทดลองใช้กรอบสมรรถนะ-ป.4-6-สขอบคุณข้อมูลดี ๆ เพื่อการศึกษา จาก สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ